บ้านผู้สูงอายุ กับ 9 ข้อต้องรู้ก่อนออกแบบไว้พักอาศัย

บ้านที่มีผู้สูงอายุพักอาศัยอยู่ จะต้องออกแบบอย่างไรให้ปลอดภัยไม่เกิดอันตรายร่างกายและชีวิตในระยะยาว
นอกจากการดูแลด้านสุขภาพและอนามัยของผู้สูงอายุแล้ว สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญไม่แพ้กันคือ เรื่องของการจัดการด้านที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ซึ่งในแต่ละปีพบว่าผู้สูงอายุจำนวนมากประสบปัญหาการหกล้ม และแนวโน้มการเกิดอุบัติเหตุก็เพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้นด้วย ทั้งนี้ บริเวณที่เกิดการหกล้มบ่อยๆ ได้แก่ ห้องนอน น้องน้ำ พื้นที่ขึ้นลงบันได รวมถึงบริเวรณรอบๆ บ้าน เนื่องด้วยความเสื่อมไปของสภาพร่งการจากอายุที่มากขึ้น การจัดบ้านสำหรับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะจึงเป็นสิ่งสำคัญ ควรพิถีพิถันและใส่ใจในรายละเอียดต่างๆ เพื่อลดความเสี่ยง และเป็นการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น
สำหรับผู้ที่กำลังจะสร้างบ้านที่มีผู้อายุอาศัยอยู่ด้วย มีคำแนะนำ 9 สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในบ้านเพื่อความปลอดภัย สะดวกสบายในการอยู่อาศัย และสุขอนามัยที่ดีของผู้สูงอายุ
1. ห้องนอน
ห้องนอนสำหรับผู้สูงอายุควรอยู่ชั้นล่างเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุจากการขึ้น-ลงบันได และลดปัญหาเรื่องข้อเข่าของผู้สูงอายุ และประตูห้องนอนควรทำเป็นบานเลื่อนชนิดแขวนที่มีขนาดไม่น้อยกว่า 0.90 ม. เพื่อรองรับวีลแชร์ได้
2. ติดตั้งไฟอัตโนมัติ
ในห้องนอนผู้สูงอายุควรมีไฟส่องสว่างที่สามารถเปิด-ปิดอัตโนมัติ ด้วยการตรวจจับความเคลื่อนไหว เพื่อนำทางเดินจากเตียงนอนไปกลับห้องน้ำในยามค่ำคืน
3. ไม่ควรมีระดับพื้นต่างกันมากเกินไป
ห้องต่างๆ ในบ้านผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงการเล่นระดับและไม่ควรมีธรณีประตู เนื่องจากจะเป็นอุปสรรคในการใช้รถวีลแชร์ และเป็นสาเหตุให้สะดุดล้มได้ง่าย
4. ห้องน้ำต้องใส่ใจเป็นพิเศษ
ห้องน้ำผู้สูงอายุควรมีความกว้างอย่างน้อย 2 เมตร เพื่อรองรับวีลแชร์ และแยกพื้นที่ส่วนเปียก-ส่วนแห้งเพื่อความปลอดภัย ประตูห้องน้ำควรเป็นบานเลื่อนชนิดรางแขวนด้านบนที่ใช้งานง่ายใช้แรงน้อยและขนาดประตูไม่ควรกว้างน้อยกว่า 0.90 ม.
5. พื้นห้องน้ำก็สำคัญ
พื้นห้องน้ำผู้สูงอายุควรเป็นพื้นกันลื่น แต่ไม่ควรมีผิวที่หยาบและมีความขรุขระมากเกินไป เพราะอาจทำให้ผู้สูงอายุเดินสะดุดได้ พื้นที่ส่วนเปียกควรมีที่นั่งอาบน้ำ ที่แข็งแรงสามารถรองรับน้ำหนักได้อย่างปลอดภัย
6. ต้องมีราวจับในห้องน้ำ
ต้องติดตั้งราวจับเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุ ในตำแหน่งที่จำเป็นได้แก่บริเวณ เตียงนอน ภายในห้องนอนในห้องน้ำ โดยโซนแห้งควรติดตั้งข้างๆ โถสุขภัณฑ์ และโซนเปียก ควรติดตั้งบริเวณพื้นที่อาบน้ำ
7. พื้นต้องรองรับแรงกระแทก
พื้นห้องผู้สูงอายุควรปูด้วยวัสดุลดแรงกระแทกเช่นพื้นไวนิลที่มีความนิ่ม หรือพื้นไม้ลามิเนตที่รองด้วยแผ่นยาง เพราะเมื่อผู้สูงอายุหกล้มก็จะสามารถลดความรุนแรงของอุบัติเหตุได้
8. มีแสงสว่างเพียงพอ
ภายในบ้านควรมีแสงสว่างที่เพียงพอ โดยเฉพาะบริเวณที่มีการใช้งานเป็นประจำ เช่น ห้องนอน ห้องน้ำ บันได ประตูรวมถึงระเบียงทางเดิน ที่สำคัญควรติดตั้งตำแหน่งของสวิตช์ไฟเอาไว้ในที่ที่ผู้สูงอายุสามารถใช้งานได้สะดวกอีกด้วย
9. มีทางลาดรองรับวีลแชร์
ทางเข้าบ้านเพื่อรองรับผู้สูงอายุที่ใช้วีลแชร์ ควรต้องมีทางลาดที่มีความชันประมาณ 10 องศา มีพื้นที่ว่างหน้าทางลาดไม่น้อยกว่า 150 ซม. ขนาดความกว้างทางลาดไม่น้อยกว่า 90 ซม. มีราวจับตลอดแนวทางลาด ใช้วัสดุพื้นผิวที่ไม่ลื่น เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถใช้งานทางลาดได้ง่าย สะดวกสบายยิ่งขึ้น
สุขภาพจิตที่ดี นำมาซึ่งสุขภาพกายที่แข็งแรง ดังนั้นนอกจาก 9 ข้อสำหรับบ้านผู้สูงอายุที่กล่าวไปแล้ว ภายในบ้านผู้สูงอายุควรต้องมีการวางผังที่ดี เปิดโล่ง ไม่รู้สึกอึดอัด อากาศถ่ายเทสะดวก ในขณะที่นอกบ้านก็ควรมีสภาพแวดล้อมที่ดีเป็นธรรมชาติ การมีสัตว์เลี้ยงก็จะช่วยให้ผู้สูงอายุไม่รู้สึกเหงา และช่วยให้ผู้สูงอายุมีความสุขในการใช้ชีวิตมากขึ้น แนะนำข่าวเพิ่มเติม>>> อิสเซ มิยาเกะ ดีไซเนอร์ญี่ปุ่นชื่อดัง เสียชีวิตด้วยวัย 84 ปี